Thursday, August 21, 2014

Arduino Yun vs. Raspberry Pi Comparison

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาแนะนำให้สุดยอดบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์มากความสามารถอย่าง Arduino Yun และ Raspberry Pi พร้อมเปรียบเทียบสเปกกันแบบชิ้นต่อชิ้นกันครับ มาดูกันว่าหน้าใหม่อย่าง Arduino Yun จะสู้กับรุ่นพี่ Raspberry Pi ได้หรือไม่

Arduino Yun
Arduino อ่านว่า (อา-ดู-อิ-โน่ หรือ อาดุยโน่) เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูล AVR ที่มีการพัฒนาแบบ Open Source คือมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งด้าน Hardware และ Software ตัว บอร์ด Arduino ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย  โดยผู้ใช้สามารถต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ จากภายนอกแล้วเชื่อมต่อเข้ามาที่ขา I/O ของบอร์ดได้
Arduino Yun เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ไร้สายที่ผสาน Arduino เข้ากับ Linux  ผสมผสานระหว่าง Arduino Leonardo ซึ่งมีไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega32u4 8-bit ของ Atmel เข้ากับ Atheros AR9331 Wi-Fi system-on-chip (SoC) ที่มี Linino ซึ่งเป็น MIPS GNU/Linux variant of OpenWRT ฟีเจอร์หลักของบอร์ดใหม่ตัวนี้คือ Bridge library ซึ่งทำให้การประมวลเว็บเซอร์วิสอันซับซ้อนที่ใช้ฟอร์แมตแบบ verbose, RAM-intensive text-based อย่าง XML ทำได้ง่ายขึ้น ด้วยการรวมการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งหมดและการประมวลผล HTTP transactions มายัง SoC ที่ใช้ Linux
Arduino Yun มีคุณสมบัติเหมือนกับ Arduino Leonardo หลายอย่าง เช่น มี 14 digital input/output pins, 7 pulse width modulation (PWM) channels และ 12 analog inputs นอกจากนั้นยังมี 16MHz crystal oscillator และ microUSB connector รวมถึง Standard-A type USB connection และ PoE compatible microSD card socket เพื่อให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อ Arduino Yun เริ่มทำงานครั้งแรกจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi และสร้างเครือข่าย Wi-Fi ชื่อ “Arduino” ขึ้นมา จากนั้นผู้ใช้สามารถตั้งค่าบอร์ดตัวนี้ได้ด้วยการใส่ชื่อและรหัสผ่านของเครือข่าย Wi-Fi

Arduino Yun
แหล่งที่มา: http://arduino.cc/en/Main/ArduinoBoardYun

ภาพแสดง port ต่างๆของ Arduino Yun
แหล่งที่มา: http://arduino.cc/en/Main/ArduinoBoardYun


Raspberry Pi
Raspberry Pi เป็นบอร์ดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดประมาณบัตรเครดิต สามารถต่อเข้ากับจอมอนิเตอร์หรือทีวี พร้อมทั้งใช้กับคีย์บอร์ดและเมาส์มาตรฐานได้  Raspberry Pi เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณและเรียนรู้การเขียนโปรแกรมในภาษา Scratch และ Python นอกจากนี้ยังมีความสามารถที่สามารถทำได้ทุกอย่างตามที่ผู้ใช้ได้คาดหวังไว้ที่คอมพิวเตอร์เดสก์ทอปจะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การดูวีดิโอคุณภาพสูง การสร้างสเปรดชีท word-processing หรือแม้กระทั่งการเล่นเกม
นอกจากนี้ Raspberry Pi มีความสามารถในการโต้ตอบกับโลกภายนอกได้และได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างโปรเจคเกี่ยวกับดิจิตอลอย่างกว้างขวาง เช่น การสร้างเครื่องฟังเพลงหรือทำเป็นอุปกรณ์ในการเล่นเพลง เช่นกลอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจจับสภาพอากาศได้ และยังใช้ในการทำ tweeting birdhouse ด้วยกล้องอินฟาเรด
Raspberry Pi ใช้ชิปออนบอร์ด (System on a chip) ของ Broadcom BCM2835 ซึ่งใช้โปรเซสเซอร์ ARM1176JZF-S ขนาด 700 MHz, VideoCore IV GPU, เดิมทีมีแรม 256MB (Model A กับ Model B rev 1) แต่หลังจากที่ได้รับการอัพเกรด (ในโมเดล B และ โมเดล B+) ทำให้มีแรมขนาด 512 MB, ไม่มีฮาร์ดดิสก์หรือ solid-state drive ในตัวแต่ว่าได้ใช้ SD Card ในการบูต และใช้เป็นที่เก็บข้อมูลแบบถาวร สำหรับใน Model B+ จะใช้ Micro SD Card, สำหรับกำลังไฟฟ้าที่ใช้คือ 2.5W (Model A), 3.5 W (model B), 3.0 W (model B+) 

Raspberry Pi model A

Raspberry Pi model B
แหล่งที่มา: http://cdn3.pcadvisor.co.uk/cmsdata/features/3405229/Raspberry_Pi.jpg

Raspberry Pi model B+

ตารางเปรียบเทียบ

Features
Arduino Yun
Raspberry Pi
Model A
Model B
Model B+
CPU
ATmega32u4 16 MHz /
Atheros AR9331 400 MHz
ARM1176JZF-S 700 MHz
GPU
-
Broadcom VideoCore IV 250 MHz
Memory
2.5 KB SRAM /
64 MB DDR2
256 MB
SDRAM
512 MB SDRAM
Flash Memory
32 KB / 16 MB
-
Memory card support
Micro-SD
SD, MMC, SDIO
Micro-SD
USB 2.0
1 Port
1 Port
2 Ports
4 Ports
Ethernet
10/100Mbit/s with PoE
-
10/100Mbit/s
Wi-Fi
IEEE 802.11b/g/n
-
Peripherals
20 x Digital I/O Pins
(such as Serial, TWI, PWM, SPI)
8 x GPIO, UART,
I²C bus, I²S audio, SPI,
HDMI, Composite RCA,
3.5 mm jack
17 x GPIO, HDMI,
Composite RCA,
3.5 mm jack
Operating Voltage
5 V
5 V
Operating System
Linux (AR9331 onboard)
Linux
Size
2.7” x 2.1”
3.37” x 2.13”
Weight
40.6 g
45 g
Price
$75
$25
$35

ข้อสรุป
จากการเปรียบเทียบจะพบว่า จุดหลักที่แตกต่างกันคือ GPU และพอร์ต I/O ต่างๆ จึงสรุปได้ว่าบอร์ดทั้งสองมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน
Arduino Yun - เหมาะสมกับงานด้าน time control หรือ PWM
Raspberry Pi – เหมาะกับการใช้งานเป็น mini-PC, งานที่ต้องการใช้ GPU,งานที่ใช้ USB หลายพอร์ต หรือการรันเว็บเซิร์ฟเวอร์
งานนี้คงบอกไม่ได้ว่าใครแพ้ใครชนะ เพราะขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปใช้งานอะไร ก็หวังว่าข้อมูลในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเลือกใช้งานบอร์ดได้นะครับ

No comments:

Post a Comment